‘คาวบอย กาฬสินธุ์’ นศ. ควบม้าไปเรียนมหาลัย ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

‘คาวบอย กาฬสินธุ์’ นศ. ควบม้าไปเรียนมหาลัย ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

มีการนำเสนอคลิปวิดีโอที่ได้รับความสนใจกันเป็นอย่างมาก กับภาพเหตุการณ์นักศึกษารายหนึ่งเดินทางไปเรียนด้วยม้า ทำให้ถูกขนานนามว่า “คาวบอย กาฬสินธุ์” เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอจากผู้ใช้งาน Facebook – Boat Ekparin Mongkummuen ที่ได้โพสต์ภาพคลิปวิดีโอ ณ แยกยูเทิร์นแห่งหนึ่งใน จ. กาฬสินธุ์ ที่ซึ่งจุดสนใจอยู่ที่ นักศึกษาคนหนึ่งที่กำลังควบม้าประดุจ คาวบอย เลี้ยวเข้าวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ไป

ตัวเจ้าของคบิปนั้น ก็ได้พาดหัวคลิปดังกล่าวไว้ว่า “โคตรเท่ เอาใจผมไปเลย5555555 ผมเนี่ยอยากเลี้ยงชาบูเลย”

ในภายหลังนั้น ตัวนักศึกษาที่ขี่ม้า หรือผู้ที่อยู่ในคลิปนั้น ก็ได้ทำการแชร์วิดีโอดังกล่าวบนเฟซบุ๊กของตนเอง – คลิ๊ก ลิก พร้อมกับกล่าวขอบคุณเจ้าของต้นทางลิปดังกล่าว และจั่วหัวโพสต์ของคลิปที่ว่าไว้ “อยากแปลกต้องแตกต่าง” พร้อมกับอิโมจิที่เป็นหน้ายิ้มแบบเหงื่อตก แสดงถึงความเขินอายที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากก็ว่าได้

ราชบัณฑิตฯ ออกโรงชี้แจงปม คำทับศัพท์ เผยอัปเดตข้อมูลแล้ว และขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลเท็จในโลกออนไลน์ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ออกมาชี้แจงกรณีมีผู้แชร์การใช้คำทับศัพท์ที่ดูไม่คุ้นตาในโลกออนไลน์ โดยทางราชบัณฑิตฯ เปิดเผยว่าข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลเก่า ปัจจุบันราชบัณฑิตยสภาได้ปรับปรุงคำทับศัพท์ขึ้นใหม่ให้เป็นปัจจุบันแล้ว พร้อมขอให้ประชาชนยึดวิธีการทับศัพท์ที่ได้รับการอัปเดตแล้วเท่านั้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 ทางเพจ Facebook สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้ออกมาโพสต์ข้อความชี้แจงเกี่ยวกับกรณีที่มีชาวเน็ตแห่แชร์คำทับศัพท์ในโลกออนไลน์ โดยคำทับศัพท์ที่ถูกแชร์ไปนั้นเป็นข้อมูลตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตที่ยังไม่เป็นปัจจุบัน

จึงทำให้คำทับศัพท์ที่ชาวเน็ตเห็นนั้นดูไม่คุ้นตา เช่น พ้าร์ตทาย์ม, ค็อฟฟี่ฉ็อป, เวิ้ร์กฉ็อป, แหล็ปท็อป, สม้าร์ตก๊าร์ด, พรีเหมี่ยร์ และ ก็อล์ฟ เป็นต้น ทั้งนี้ทางสำนักงานราชบัณฑิตยสภาก็ได้ออกมาโพสต์ข้อความชี้แจงว่าได้ทำการปรับปรุงข้อมูลคำทับศัพท์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ปัจจุบันแล้ว ใจความว่า

“คำในพจนานุกรมคำใหม่ เล่ม ๑-๒ ได้มีการแก้ไขในฉบับพิมพ์ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๗) แล้ว

หนังสือพจนานุกรมคำใหม่ ได้รวบรวมคำที่เกิดขึ้นและใช้ในยุคหนึ่งเพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าประวัติที่มาของคำ ซึ่งท่านสามารถอ้างอิงรูปเขียนคำที่ถูกต้องในปัจจุบันได้จากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ หรือหนังสืออ้างอิงต่าง ๆ ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาที่เป็นฉบับพิมพ์ครั้งล่าสุด”

ครม. อนุมัติงบประมาณ ‘ค่าเสี่ยงภัย’ สำหรับ อสม. – อสส. ประจำเดือน เม.ย.-พ.ค.

คณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติงบประมาณ 1,050 ล้านบาท เพื่อใช้งานเป็น ค่าเสี่ยงภัย สำหรับ อสม. – อสส. ที่ทำหน้าที่ป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำเดือน เม.ย.-พ.ค. 2565 (30 ส.ค. 2565) คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติในการอนุมัติ งบประมาณ วงเงิน 1,050 ล้านบาท เพื่อใช้งานเป็น ค่าเสี่ยงภัย สำหรับ อสม. – อสส. ที่ทำหน้าที่ป้องกัน และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายในชุมชน ประจำเดือน เม.ย.-พ.ค. 2565

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี อนุมัติ 1,050.31 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชยและค่าเสี่ยงภัยสำหรับ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 1,039,729 คน และ อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) จำนวน 10,577 คน รวมทั้งสิ้น 1,050,306 คน ในอัตรา 500 บาท/คน/เดือน ระยะเวลาเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2565 ภายใต้ โครงการค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชยและค่าเสี่ยงภัยสำหรับการปฏิบัติงานของ อสม. ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ในชุมชน

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในไทย กระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้อสม.และอสส. ร่วมดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในชุมชน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 โดยมีการดำเนินงาน เช่น การให้ความรู้ในการป้องกันและดูแลสุขภาพตนเองแก่ประชาชน การเฝ้าระวังและคัดกรองกลุ่มเสี่ยง การเคาะประตูบ้านต้านภัยโควิด-19 ร่วมทีมแพทย์ ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 แยกจากรักษาตัวในชุมชน (CI) และแยกกักรักษาตัวที่บ้าน (HI) แนะนำกลุ่มเป้าหมายตรวจ ATK และรายงานผลผ่านแอพพลิเคชั่น “สมาร์ท อสม.” รวมทั้ง เชิญชวนกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปและผู้ที่มีโรคประจำตัวมารับวัคซีนเข็มที่ 1/2/3 ด้วย

ทั้งนี้รัฐบาลได้เคยให้ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยแก่อสม. และ อสส.ในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค โควิด-19 ในชุมชนไปแล้วก่อนหน้านี้เป็นระยะเวลา 6 เดือนตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564-มีนาคม 2565 แล้วจำนวนเงิน 3,150.92 ล้านบาท

เมื่ออัปโหลดรูปภาพผู้สอบเสร็จแล้ว ผู้สอบ ภาค ก จะต้องทำการ พิมพ์บัตรประจำตัวผู้สอบ (สีขาว หรือ สีดำก็ได้) ผ่านเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.และขั้นตอนสุดท้าย ให้เช็กคุณภาพ ความชัด เบลอของภาพผู้สอบให้เรียบร้อย

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า